Phrases วลี
เนื้อหาในหน้านี้
วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายกันต่อเลยดีกว่า
ความหมายของ Phrase (วลี)
Phrase คือ กลุ่มคำที่เกี่ยวพันธ์กัน มีความหมายชัดเจนในตัวเอง สามารถใช้แทนชนิด คำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ แต่ความหมายนั้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีประธาน หรือกริยาแท้เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยอยู่ในประโยค เนื้อความนั้นจึงจะสมบูรณ์
วลี ได้แก่ กลุ่มคำที่มีความหมาย แต่ไม่ใช่ประโยค (sentence) หรือ อนุประโยค (clause)
ในแง่ของไวยากรณ์ Phrase (วลี) คือ กลุ่มคำที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความหมายเท่านั้น แต่มีสถานะในเชิงไวยากรณ์อีกด้วย วลีนั้นๆ อาจมีสถานะเป็นคำประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจัดอยู่ในส่วนต่างๆ
ของคำพูด (parts of speech) กล่าวคือ วลีดังกล่าวนั้น อาจจะมีหน้าที่เป็นคำนาม (noun), คำคุณศัพท์ (adjective), คำกริยาวิเศษณ์ (adverb), หรือ คำกริยา (verb) เป็นต้น อยู่ในประโยคนั้นๆ
ประเภทของวลี
วลีแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- นามวลี(noun phrase) จะมีคำนามเป็นหลัก เช่น women with long hair
- กริยาวลี(verb phrase) จะมีคำกริยาแท้เป็นหลัก เช่น must have been thinking
- คุณศัพท์วลี(adjective phrase) จะมีคำคุณศัพท์เป็นหลัก เช่น very happy
- กริยาวิเศษณ์วลี(adverb phrase) จะมีคำกริยาวิเศษณ์เป็นหลัก เช่น very thoroughly
- บุพบทวลี(prepositional phrase) จะมีคำบุพบทเป็นหลัก เช่น in the warehouse
- นามวลี(noun phrase)
1.1 โครงสร้างของ noun phrase
คำหลักใน noun phrase คือ คำนามหรือคำสรรพนาม โดยอาจมีโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งต่อไปนี้
- คำกำกับนามและคำนาม
เช่น these houses
- คำกำกับนาม ส่วนขยายหน้าคำนาม และคำนาม
เช่น these big houses
- คำนามและส่วนขยายหลังคำนาม
เช่น houses made of wood
- คำกำกับนาม คำนาม และส่วนขยายหลังคำนาม
เช่น some houses made of wood
- ส่วนขยายหน้าคำนามคำนาม และส่วนขยายหลังคำนาม
เช่น big houses made of wood
- คำกำกับนาม ส่วนขยายหน้าคำนามคำนาม และส่วนขยายหลังคำนาม
เช่น some big houses made of wood
ขอให้สังเกตว่า noun phrase มักมีคำกำกับนามและส่วนขยายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยส่วนขยายส่วนมากจะเป็นคำคุณศัพท์ ในการใช้คำคุณศัพท์และคำนามขยายคำนามหลัก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ลำดับตำแหน่งของคำขยายเหล่านั้นเมื่อนำมาวางไว้ข้างหน้าคำนามหลัก โดยทั่วไปคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายคำนามจะมีเพียงสองสามคำ แต่บางครั้งอาจมีส่วนขยายได้หลากหลาย โดยมีลำดับของคำคุณศัพท์และคำนามขยายหน้าคำนามหลักดังนี้
คำกำกับนาม (determiner) |
ความรู้สึก หรือความคิดเห็น (feeling/opinion) |
ขนาด หรือ รูปร่าง size/shape |
อายุ (age) |
สี (color) |
ต้นกำเนิด หรือที่มา (origin) |
วัสดุ (material) |
คำนามหลัก (head noun) |
a |
practical |
small |
old |
- |
German |
- |
knife |
that |
- |
big |
new |
brown |
- |
plastic |
bag |
this |
beautiful |
long |
- |
black |
Japanese |
nylon |
umbrella |
อย่างไรก็ตาม การเรียงลำดับคำคุณศัพท์หน้าคำนามหลัก อาจผิดไปจากลำดับที่กล่าวไว้ในที่นี้ได้ โดยวางคำที่ต้องการเน้นไว้ใกล้คำนามหลักมากกว่า เช่น
a sick young boy (เด็กน้อยที่มีอาการเจ็บป่วย)
a young sick boy (เด็กคนป่วยที่ยังมีอายุน้อย)
1.2 หน้าที่ของ noun phrase นามวลีทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม เช่น
1.2.1 เป็นประธาน เช่น
All the passengers were safe.
1.2.2 เป็นกรรม เช่น
We really enjoyed the food at that restaurant.
1.2.3 เป็นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น
The manager gave all of us (กรรมรอง) a double raise. (กรรมตรง)
1.2.4 เป็นส่วนเสริมประธาน เช่น
The clock was a Christmas present from the ABC Company.
1.2.5 เป็นส่วนเสริมกรรม เช่น
We considered Mr. Johnson the best employee.
1.2.6 เป็นกรรมของบุพบท เช่น
The box of chocolates is intended for your children.
1.2.7 เป็นส่วนขยายคำนามอื่น เช่น
John suffers from back problems.
1.2.8 เป็นกริยาวิเศษณ์ เช่น
School starts next month.
- กริยาวลี(verb phrase)
verb phrase ประกอบด้วย main verb (กริยาแท้) และ auxiliary verb (กริยาช่วย) ใน verb phrase หนึ่ง ๆ อาจมีกริยาช่วยมากกว่า 1 คำ
ตัวอย่าง
- Jane will workon a night shift.
(will work เป็น verb phrase ซึ่งมี work เป็นกริยาแท้ และ will เป็นกริยาช่วย)
- Jane will be workingon a night shift next week.
(will be working เป็น verb phrase ซึ่งมี working เป็นกริยาแท้ ส่วน will และ be เป็นกริยาช่วย)
verb phrase ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำกริยา คือ บอกให้ทราบว่าประธานของประโยคทำอะไร หรือเกิดอะไรขึ้นกับประธานของประโยค
- คุณศัพท์วลี(adjective phrase)
3.1 โครงสร้างของ adjective phrase
adjective phrase ประกอบด้วยคำคุณศัพท์กับส่วนขยายคำคุณศัพท์ ซึ่งมีทั้งประเภทที่อยู่หน้าคำคุณศัพท์ และประเภทที่อยู่หลังคำคุณศัพท์ โดยอาจมีโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งต่อไปนี้
- ส่วนขยายที่อยู่หน้าคำคุณศัพท์และคำคุณศัพท์
เช่น very happy
- คำคุณศัพท์และส่วนขยายที่อยู่หลังคำคุณศัพท์
เช่น happy to see you
- ส่วนขยายที่อยู่หน้าคำคุณศัพท์ คุณศัพท์ และส่วนขยายที่อยู่หลังคำคุณศัพท์
เช่น very happy to see you
3.2 หน้าที่ของ adjective phrase คุณศัพท์วลีทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำคุณศัพท์ เช่น
3.2.1 ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
Highly sensitive people are hard to deal with.
3.2.2 ทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมประธาน เช่น
The children are very happy to see their parents.
3.2.3 ทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมกรรม เช่น
The teachers made us aware of the importance of the entrance exams.
3.2.4 ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม โดยอยู่ข้างหลังคำสรรพนามที่ถูกขยาย เช่น
I want to eat something very spicy.
- กริยาวิเศษณ์วลี(adverb phrase)
4.1 โครงสร้างของ adverb phrase
adverb phrase ประกอบด้วยคำกริยาวิเศษณ์กับส่วนขยาย ซึ่งมีทั้งประเภทที่อยู่ข้างหน้าและประเภทที่อยู่ข้างหลังคำกริยาวิเศษณ์ โดยอาจมีโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งต่อไปนี้
- ส่วนขยายที่อยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์ และคำกริยาวิเศษณ์
เช่น very quickly
- คำกริยาวิเศษณ์ละส่วนขยายที่อยู่หลังคำกริยาวิเศษณ์
เช่น quickly indeed
- ส่วนขยายที่อยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์คำกริยาวิเศษณ์ และส่วนขยายที่อยู่หลังคำกริยาวิเศษณ์
เช่น very quickly indeed
4.2 หน้าที่ของ adverb phrase กริยาวิเศษณ์วลีทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำกริยาวิเศษณ์ ดังนี้
4.2.1 ทำหน้าที่ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ และคำกริยาวิเศษณ์อื่น เช่น
Henry walked extremely quickly.
These umbrellas are very beautifully made.
4.2.2 ทำหน้าที่ขยายประโยค เช่น
Surprisingly indeed, everybody survived in the car accident.
- บุพบทวลี(prepositional phrase)
5.1 โครงสร้างของ prepositional phrase
prepositional phrase ประกอบด้วยคำบุพบทและส่วนเสริม (complement) ซึ่งตำราบางเล่มจะเรียกว่า กรรมของบุพบท ส่วนเสริมมี 3 ประเภทคือ
- ส่วนเสริมที่เป็นnoun phrase
เช่น through the back door
- ส่วนเสริมที่เป็นnoun clause
เช่น from what I have heard
- ส่วนเสริมที่อยู่ในรูปกริยาเติม(v–ing)
เช่น after speaking to you
5.2 หน้าที่ของ prepositional phrase บุพบทวลีทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
5.2.1 ทำหน้าที่ขยายประธานของประโยค โดยอยู่ตามหลังกริยา BE หรือกริยาเชื่อม (linking verb) เช่น
Mr. Johnson is in the meeting room.
5.2.2 ทำหน้าที่ขยาย noun phrase โดยอยู่ในตำแหน่งหลัง noun phrase ที่ถูกขยาย เช่น
Jane took a course in advanced mathematics.
Kate bought a house with a beautiful garden.
5.2.3 ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์ โดยอยู่ในตำแหน่งหลังคำคุณศัพท์ที่ถูกขยาย เช่น
They are aware of the danger of the AIDS virus.
I am happy with what I have.
5.2.4 ทำหน้าที่ขยายประโยค เช่น
In fact, the economy is improving.
In my opinion, people are basically good.
ที่มา: http://www.stou.ac.th/
พูดคุย
ร่วมให้กำลังใจหรือติชม