คำนาม

คำนาม
Last update 13 / 03 / 22by: Teacher Guru1.2K viewed

คำนาม - Noun

คำนามเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน   สัตว์   สถานที่  สิ่งของ และนามธรรม   เช่น  student, policeman, dog, snake, airport, river, television, sugar, love, etc. หรือบางครั้งอาจรวมไปถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตนและจับต้องไม่ได้ เช่น ความรัก ความแรารถนา ความรู้สึก เป็นต้น วันนี้เราจะมาเรียนรู้ประเภทของคำนามทั้งหมดและรายละเอียดของแต่ละประเภทกัน จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

 

ประเภทของคำนาม

สามารถแบ่งประเภทของคำนามได้ดังนี้

  1. คำนามทั่วไป (common noun)
  2. คำนามเฉพาะ (proper noun)
  3. คำนามนับได้ (countable noun)
  4. คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun)
  5. สมุหนาม (collective noun)
  6. อาการนาม (abstract noun)
  7. คำนามวัตถุ/คำนามที่ใช้เรียกสิ่งที่เป็นรูปธรรม (material noun/ concrete noun)
  8. คำนามที่แสดงเพศ (gender)

 

ความหมายและตัวอย่างของคำนามแต่ละประเภท

1. คำนามทั่วไป (common noun) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ สภาวะทั่ว ๆ ไป เช่น girl, boy,man, tiger, country, week

2. คำนามเฉพาะ (proper noun) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคนหนึ่งคนใด สิ่งของหนึ่งสิ่งของใด สถานที่หนึ่งสถานที่ใดโดยเฉพาะ  เช่น 
                        girl    เป็น  common noun   Lidai เป็นชื่อเฉพาะเรียก  girl  คนหนึ่ง
                        tiger  เป็น  common noun   Ahkor เป็นชื่อเฉพาะเรียก  tiger  ตัวหนึ่ง
                        country     เป็น  common noun    Thailand เป็นชื่อเฉพาะเรียก  country  แห่งหนึ่ง

ชื่อวันและเดือนต้องเป็นคำนามเฉพาะ เช่น

Monday, Tuesday, etc.

January, February, March, etc.

คำนามเฉพาะ (proper noun)  ต้องเขียนอักษรตัวแรกของคำด้วยอักษรตัวใหญ่ (capital letter)

 

3. คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนได้ จึงมีรูปเอกพจน์ (singular form) และรูปพหูพจน์ (plural form)

การเปลี่ยนรูปเอกพจน์เป็นรูปพหูพจน์มีดังนี้

- กลุ่มที่ 1 คำนามส่วนมาก เติม s ที่รูปเอกพจน์เมื่อต้องการรูปพหูพจน์ เช่น คำต่อไปนี้

Singular Form Plural Form Form
potato potatoes
watch watches
bus buses
glass glasses
brush brushes

 

- กลุ่มที่ 2 คำนามที่ลงท้ายด้วย o, ch, s,  ss, sh, x, และ z ต้องเติม es

Singular Form Plural Form Form
potato potatoes
watch watches
bus buses
glass glasses
brush brushes

 

ข้อยกเว้น

1.  คำที่ลงท้ายด้วย  o  เช่น buffalo  ใช้ได้ 2 แบบ คือเติม  es  ดังนี้  buffaloes หรือใช้รูปเดิมก็ได้ คือ buffalo

2.  คำนามที่ลงท้ายด้วย  o  ที่มาจากภาษาอื่น หรือคำที่เป็นคำย่อ ให้เติม s เท่านั้น  เช่น  คำต่อไปนี้
                                             kilo = kilos                         photo = photos

                                            piano = pianos                  dynamo = dynamos                              

                                            kimono = kimonos             soprano = sopranos

การออกเสียง เมื่อเติม es ให้คำนามที่ลงท้ายด้วย  ch, s,  ss, sh, x,  และ z  ต้องออกเสียงคำ โดยเพิ่มพยางค์ที่ท้ายคำเป็นเสียง  /Iz/   เช่น  glasses  ออกเสียงว่า  [gla:sIz]

 

- กลุ่มที่ 3 คำนามที่ลงท้ายด้วย y โดยอักษรที่นำหน้า y เป็นรูปพยัญชนะต้องเปลี่ยน y เป็น i ก่อนเติม  es  เช่น
                                               Singular Form                          Plural Form 
                                             baby                                babies     
                                             country                            countries
                                             fly                                   flies
                       

แต่คำนามที่ลงท้ายด้วย  y  โดยอักษรที่นำหน้า  y  เป็นรูปสระ  ให้เติม  s  เช่น

                                             boy  =  boys

                                             monkey  =  monkeys
                        

- กลุ่มที่ 4 คำนามที่ลงท้ายด้วย f  หรือ  fe  ต้องเปลี่ยน f  หรือ  fe  เป็น  ves  เช่น  คำนาม

ต่อไปนี้  calf, half , knife, leaf, loaf,  life, self, shelf, thief, wife, wolf, sheaf      
                                                Singular Form                        Plural Form 
                                            loaf                                  loaves
                                            leaf                                  leaves
                                            wife                                  wives
                                            half                                  halves
                                            thief                                 thieves
ส่วนคำนามต่อไปนี้   hoof, scarf, และ wharf  เติม  s  หรือเปลี่ยน f  เป็น  ves ก็ได้ดังนี้     
                                            hoof  =  hoofs/ hooves       
                                            scarf = scarfs/ scarves  
                                            wharf  =  wharfs/wharves
นอกจากคำนามที่กล่าวมานี้ คำนามอื่นที่ลงท้ายด้วย f  หรือ fe ให้เติม s  เมื่อเป็นพหูพจน์ เช่น
                                            cliff = cliffs

                                            handkerchief = handkerchiefs

                     

- กลุ่มที่ 5 คำนามต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์เฉพาะ  เช่น


Singular Form  
Plural Form

      man 
men

      woman    
women

      foot   
feet

      tooth
teeth

      goose 
geese

      mouse   
mice   

      louse 
lice

      child   
children   

      ox         
oxen

ข้อสังเกต    คำที่  1 – 7   คำที่เป็นพหูพจน์เปลี่ยนสระภายในคำเอกพจน์   ส่วน 2 คำหลัง คือ child  และ ox   เป็นการเติม  -ren/-en  ท้ายคำ

                        

- กลุ่มที่ 6 คำนามกลุ่มนี้ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์  
                                      fish (fishes มีใช้บ้าง แต่น้อยมาก)
                                      ชื่อปลาต่าง ๆ  เช่น carp, salmon, trout, cod, mackerel
                                      ปลาหมึก  squid
                                      สัตว์บางชนิด เช่น  deer, sheep, swine
                                      ยานพาหนะบางชนิด  เช่น  aircraft, craft 

คำนามต่อไปนี้ใช้รูปเดิมหรือเติม s ก็ได้   duck/ducks,  partridge/ partridges,  pheasant/pheasants
คำนามนับได้บางคำจะเป็นพหูพจน์เสมอ  เช่น clothes, police, savings, stairs, surroundings, valuables, pains, thanks, contents, etc. 
                                      She unpacked and put all her clothes in the closet.
                                      The man witnessed the robbery and called the police.
                                      She walked up the stairs quietly.
คำนามเรียกเสื้อผ้า  เครื่องมือ หรือของใช้ที่มีสองส่วนจะเป็นพหูพจน์เช่นเดียวกัน เช่น
                       เสื้อผ้า:  trousers pants, shorts, etc.  (กางเกง มี 2 ขา)
                       เครื่องมือหรือของใช้:  pliers, scissors,  tweezers, binoculars, glasses, spectacles, etc.
                                     Schoolboys wear shorts when they go to school.
                                     The girl cut the pictures with scissors.

                                     Tim is short-sighted.  He must wear glasses when he reads. 


4. คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) ได้แก่

                         คำนามที่เรียกสิ่งที่นับจำนวนไม่ได้หรือไม่สามารถแยกนับเป็นหนึ่ง  สอง  สาม  ฯลฯ  ได้    เช่น

                               water       sugar        bread      gold        paper      dust                           
                               sand        hair          cloth        soap       ice          oil
                               glass        wood        meat       jam        chalk       mud 
                               milk         salt           butter      rice         air          snow


                         คำนามที่บอกการกระทำ (action)  คุณสมบัติ (quality) หรือ สภาพ (state)  ซึ่งไม่มีตัวตน  จับต้องไม่ได้    คำนามเหล่านี้เรียกว่า อาการนาม (abstract noun) ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในเรื่อง อาการนาม เช่น

                               information       advice       relief       laziness       sorrow       willingness    


                         คำนามที่เป็นชื่อวิชาหรือชื่อกีฬา  เช่น

                               English             Japanese          history      geography       psychology  
                               basketball         tennis              golf           baseball 

                         คำนามที่เรียกชื่อโรคต่าง ๆ  เช่น   mumps,  measles, shingles (งูสวัด) และ

                         คำนามต่อไปนี้      luggage, baggage,  furniture, weather,  news,  etc.

                        คำนามนับไม่ได้จะมีคุณสมบัติเป็นเอกพจน์เสมอ  และไม่ใช้คำกำกับนาม a/an นำหน้า 

 

 

5. สมุหนาม  (collective noun)  เป็นคำนามเอกพจน์ซึ่งใช้เรียกคนเป็นกลุ่ม  เช่น

                        family          staff       team        bunch       army        crowd       government
                        company     class       club          gang         jury          band        committee
                  คำนามเหล่านี้จึงสามารถใช้เสมือนเป็นคำพหูพจน์ใช้กริยาพหูพจน์  (plural verb)  แต่ใช้กับกริยาเอกพจน์  (singular verb)  ก็ได้   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดหรือผู้เขียนตั้งใจจะหมายถึงอะไร
ถ้าผู้พูดหมายถึง   คนจำนวนมากกว่า 1 คน ( = people) กำลังทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีคนมากกว่า 1 คนทำ  เช่น การวางแผนต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด  ฯลฯ ควรจะใช้กริยาพหูพจน์และต้องแทนด้วยคำสรรพนาม  “they”  เช่น
                        Our school team are wearing the school uniform. 
                  ถ้าหมายถึง  กลุ่มเดียว/หน่วยเดียว (a single group or unit)  ให้ใช้กริยาเอกพจน์  เช่น
                        Our school team is better than our opponent’s.
                        The family is going to Italy next month.
                  สมุหนามบางคำมีรูปพหูพจน์ได้และต้องใช้กับกริยาพหูพจน์    เช่น
                        family =  families      class = classes      crowd = crowds 

 

 

6. อาการนาม (abstract noun) ได้แก่คำนามที่เรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น  honesty  คำนาม
ประเภทนี้เป็นคำนามที่บอกการกระทำ (action)  คุณสมบัติ (quality) หรือสภาพ (state)  ซึ่งไม่มีตัว
ตนที่จับต้องได้  อาการนามเป็นคำนามที่นับไม่ได้  เช่น


ability    
courage     
death 
fear  
help   

decision
experience 
beauty 
hope   
pity

honesty
horror      
knowledge 
happiness
mercy       

poverty      
arrival   
choice      
shopping   
camping

 

 

 

7. คำนามวัตถุ/ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งที่เป็นรูปธรรม  (material noun/ concrete noun)

คำนามประเภทนี้เป็น  mass noun  เป็นคำนามที่เรียกสิ่งของที่มีรูปร่าง   อยู่เป็นกลุ่มก้อน แต่นับไม่ได้ ต้องระบุจำนวนมากน้อยโดยบอกเป็นปริมาณ และเป็นคำนามที่บ่งบอกถึงเนื้อวัตถุ  จะมีรูปเป็นเอกพจน์และใช้กับกริยาเอกพจน์เสมอ เช่น  rice, soap, gold, water, wood 
                             คำนามวัตถุจะไม่ใช้คำกำกับนาม a/an  นำหน้า  เช่น
                             Rice is grown in Thailand.
                             We wash our hands with soap and water before meals.
                             Gold is very expensive these days.
                             วิธีระบุปริมาณของคำนามวัตถุ ต้องใช้ common noun  มาช่วยแสดงปริมาณโดยใช้รูปแบบ

กลุ่มคำดังนี้

                        common noun + of + material noun  เช่น

 

a glass of water 
a jug of milk

a cup of tea  
a loaf of bread

a bar of soap   
a cube of sugar

a piece of paper 
a bag of rice
                        วิธีทำเป็นพหูพจน์ ต้องเปลี่ยนที่ common noun ดังนี้
                             He drinks two glasses of milk every morning.
                             She bought three loaves of bread.
                             Please give me five pieces of writing paper.
                        คำนามวัตถุจัดเป็นประเภทได้ดังนี้

                         พวกที่เป็นอาหาร ได้แก่  ประเภทเนื้อและพืชผลต่างๆ เช่น

                             meat      mutton      pork         cheese      bread        beef        rice
                             salt        sugar        fish           butter       curry         milk          wheat

                         พวกที่เป็นสารธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ เช่น

                             gold       silver         iron          oxygen      metal        stone        wood
                             glass      brick         sand         cement     cotton        earth        copper

 


8. คำนามที่แสดงเพศ (gender)  มีอยู่ 4 ประเภทคือ  เพศชาย (masculine),  เพศหญิง (feminine), เพศรวม  (common gender) และไม่มีเพศ (neuter)

                               คำนามที่บ่งบอกเพศชายและเพศหญิง

                                   -  สำหรับเรียก คน (people)       


M     
F  
 M     
 F    
boy
girl
man
woman
son 
daughter 
uncle
aunt
father 
mother
husband
wife
nephew
niece
bachelor 
spinster
gentleman   
lady     
bridegroom 
bride
widower  
widow    
duke   
duchess     
king    
queen   
prince       
princess
actor      
actress  
host      
hostess   
hero              
heroine   
waiter       
waitress
salesman        
saleswoman   
god          
goddess
heir             
heiress  
steward  
stewardess
                                          

                                   -  สำหรับเรียก สัตว์  (animals) ต่อไปนี้ 


M     
F  
 M     
 F    
 M
 F  

drake 
duck 
bull 
cow
cock 
hen

gander  
goose
ram
ewe 
dog
bitch

tiger   
tigress
lion
lioness

 


                               คำนามที่บ่งบอกเพศรวม เช่น
                                boy – girl  = child                    son – daughter = child
                                man – woman =  person          father – mother =  parent*
                                cock – hen  =  fowl                 ram – ewe =  sheep

                              * คำว่า parent   ถ้าหมายถึงทั้งพ่อและแม่ จะเป็นพหูพจน์    คือ  parents    แต่ถ้าพูดถึงคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว คือ พ่อหรือแม่  ใช้เป็นเอกพจน์  คือ  parent


                               คำนามไม่มีเพศ มักจะเป็นคำนามที่เรียกสิ่งของ  เช่น   book, table, television, telephone, camera, etc.

 

 

คงได้ทราบประเภทของคำนามกันแล้ว อย่าลืมทบทวนบ่อย ๆ นะจ๊ะ ยิ่งต้องสอบแล้วเนี่ย ยังไงก็หนีไม่พ้นคำนามทั้ง 8 ประเภทเหล่านี้แน่นอน

 

ขอขอบคุณและดูเพิ่มเติมต่อได้ที่ http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module3/content/content01.html

คำนามคำนามnoun
พูดคุย

พูดคุย

ร่วมให้กำลังใจหรือติชม